วันศุกร์ที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2554

ห้องสนทนาคืออะไร มีวิธีใช้อย่างไร


ห้องสนทนา คือสถานที่พบปะของคนที่มีความสนใจเหมือน คล้ายกันมาพบ และสื่อสารกันในอินเทอร์เน็ต โดยการพิมพ์ข้อความในคอมฯ
l ห้องสนทนา สามารถเป็นพื้นที่สำหรับการเรียนรู้ แลกเปลี่ยนข้อมูล และช่วยเหลือด้านการศึกษา
l ข้อความที่พิมพ์เข้าไปจะปรากฏที่หน้าจอของผู้เข้าไปในห้องสนทนาทุกคนพร้อม ๆ กัน
l ห้องสนทนาบางแห่ง มีการกลั่นกรอง ข้อความที่กระจาย เพราะไม่ทำตามมาตรฐานที่ตั้งขึ้น เหตุผลที่ข้อความถูกบล็อก เช่น การสนทนา โต้ตอบนอกประเด็น การใช้ภาษาไม่สุภาพ คำที่ไม่พึงปราถนา ลามก หยาบคาย โอ้อวดเกินจริง
l ห้องสนทนา ยังเป็นสถานที่ซึ่ง เปิดให้มีการส่งข้อความอัติโนมัคิ โดยไม่มีการแทรกแซง
คนทั่วไปสามารถเข้าไปใช้ห้องสนทนาได้โดยไม่ต้องบอก หรือพิสูจน์ว่าเขาเป็นใค
อันตราย ที่อาจเกิดในห้องแชท?
l เด็กใช้เวลาในห้องสนทนามากเกินไป ละเลยต่อความรับผิดชอบด้านอื่น ๆ เช่น ไม่ทำการบ้าน ไม่เข้าเรียน
l เด็กมีความเสี่ยงในการพัฒนาการด้านสังคมต่ำ อาศัยเพียงการติดต่อ สื่อสารในห้องสนทนา บางคนมีอาการเสพติด
l ผู้ใช้ห้องสนทนาบางคนพยายามชักนำเด็กให้พูดคุยเรื่องเซ็กซ์ ในรูปแบบใด รูปแบบหนึ่ง  และพบข้อมูลทางคดีว่ามีนักล่อลวงเด็กจากทั่วโลกใช้ห้องสนทนาในการติดต่อกับเด็ก
l ผู้ชื่นชอบการมีเพศสัมพันธ์กับเด็กจะพยายามติดต่อกับเด็กในโลกออนไลน์ให้มากที่สุด เพื่อหาเด็กที่ยินดีจะพบกับเขา 
l คนเหล่านั้นจะสร้างความไว้วางใจ รับฟังปัญหา และให้ความสนใจสิ่งที่เด็ก กำลังทำอยู่
สิ่งที่เด็กสามารถทำได้ เพื่อความปลอดภัยในห้องสนทนา
l ไม่เปิดเผยชื่อ นามสกุล ที่อยู่ หมายเลขโทรศัพท์ ชื่อของคนในครอบครัว ชื่อโรงเรียน หรือข้อมูลส่วนตัวอื่น ๆ แก่คนอื่นในห้องสนทนา เมื่อใดก็ตามที่เราให้ข้อมูลเหล่านี้แก่ใครในโลกออนไลน์ เป็นไปไม่ได้ที่จะเอากลับคืน
l เลือกใช้ชื่อที่ได้กลั่นกรองแล้ว ซึ่งจะไม่ส่งผลตรงมายังตัวเรา ควรบอกให้ผู้ปกครองรู้ชื่อในการออนไลน์ของเราด้วย
l หากพบสิ่งที่รบกวนบนจอ บอกผู้ปกครอง ครูหรือเพื่อน จำไว้เสมอว่าการละเลยไม่บอกพ่อแม่ ครู ฯลฯ อาจนำมาซึ่งปัญหา
l หากพบเห็นเพื่อนทำสิ่งที่ไม่ถูกต้องในการห้องสนทนา เตือนเขาเกี่ยวกับอันตราย และวิธีการปฏิบัติที่ถูกต้อง หากเพื่อนเพิกเฉยคำแนะนำของเรา พิจารณาบอกผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ
l ห้องสนทนาเป็นช่องทางที่ดีสำหรับการพูดคุยกัน แต่ระวังบางคนอาจบอกสิ่งที่ไม่ใช่เรื่องจริง
l หากมีใครบางคน หรือบางอย่าง รบกวนเราในห้องสนทนา ให้รีบออกมา และหาห้องที่เราชอบใหม่ บอกผู้ปกครอง ผู้ดูแล หรือครูเกี่ยวกับสิ่งที่เกิดขึ้น
l บอกให้ผู้ปกครองทราบเมื่อเรามีเพื่อนใหม่ออนไลน์ หากต้องการพบเจอกับเพื่อนใหม่ ต้องปรึกษากับพ่อแม่ ครู ผู้ดูแล หรือผู้ใหญ่ที่รับผิดชอบ
l เราไม่มีทางทราบว่าเราจะเจออะไรในการนัดพบ และหากไม่มีผู้ปกครองเด็ก ๆ อาจมีอันตรายมาก

วันพฤหัสบดีที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2554

เครื่อข่ายสังคมออนไลน์

เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network)

เครือข่ายสังคมออนไลน์ (Social Network) หมายถึงกลุ่มคนที่รวมกันเป็นสังคมมีการทำกิจกรรมร่วมกันบนอินเทอร์เน็ต ในรูปแบบของเว็บไซต์มีการแผ่ขยายออกไปเรื่อย ๆ เป็นรูปแบบของการสื่อสารข้อมูลผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้เครือข่ายคอมพิวเตอร์หรืออินเทอร์เน็ตเป็นสังคมขึ้นมา การสร้างชุมชนใหม่บนอินเทอร์เน็ตเป็นเครื่องมือสำคัญในการติดต่อสื่อสาร สามารถทำกิจกรรมต่างๆ ทั้งเพื่อการศึกษา ธุรกิจ และความบันเทิง
ทุกวันนี้มีคนใช้ชีวิตอยู่กับสังคมออนไลน์มากขึ้นทุกวัน และมีการใช้ Social Media ที่ผู้ใช้เป็นผู้สื่อสาร หรือเขียนเล่า เนื้อหา เรื่องราว ประสบการณ์ บทความ รูปภาพ และวิดีโอ ที่ผู้ใช้เขียนขึ้นเอง ทำขึ้นเอง หรือพบเจอจากสื่ออื่นๆ แล้วนำมาแบ่งปันให้กับผู้อื่นที่อยู่ในเครือข่ายของตน ผ่านทางเว็บไซต์ Social Network ที่ให้บริการบนออนไลน์  ปัจจุบันการสื่อสารแบบนี้ทำผ่านทาง Internet และโทรศัพท์มือถือ เช่น กระดานความคิดเห็น เว็บบล็อก วิกิ (wiki)  Podcast รูปภาพ และวิดีโอ  โดยมีเทคโนโลยีที่รองรับเนื้อหา (content) เหล่านี้ ได้แก่ เว็บบล็อก เว็บไซต์ที่แชร์รูปภาพ แชร์เพลง แชร์วิดีโอ  เว็บบอร์ด  อีเมล์  IM (Instant Massage) เครื่องมือที่ให้บริการ เช่น Voice over IP  ส่วนเว็บไซต์ที่ให้บริการ Social Network ได้แก่ Google Group   Facebook   MySpace  หรือ Youtube เป็นต้น

คุณธรรมจริยธรรมในการใช้เน็ต

 คุณธรรมจริยธรรมในการใช้เน็ต
บัญญัติ 10 ประการสำหรับผู้เริ่มต้น
     ถ้าศึกษาค้นคว้าในเรื่อง Netiquette บนเว็บ จะพบการอ้างอิงและกล่าวถึง The Core Rules of Netiquette จากหนังสือเรื่อง “Netiquette” เขียนโดย Virginia Shea ซึ่งเธอได้บัญญัติกฎกติกาที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตพึงตระหนักและยึดเป็นแนวปฏิบัติ 10 ข้อ ดังนี้
• Remember the Human
     กฏข้อที่ 1 เป็นข้อเตือนใจสำหรับผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในขณะที่เรานั่งพิมพ์ข้อความเพื่อติดต่อสื่อสารผ่านจอคอมพิวเตอร์นั้น ต้องไม่ลืมว่าปลายทางอีกด้านหนึ่งของการสื่อสารนั้นที่จริงแล้วก็คือมนุษย์
• Adhere to the same standards of behavior online that you follow in real life
     กฎข้อที่ 2 เป็นหลักคิดง่าย ๆ ที่อาจจะยึดเป็นแนวปฏิบัติ หากไม่รู้ว่าควรจะทำตัวอย่างไร ก็ให้ยึดกติกามารยาทที่เราถือปฏิบัติในสังคมมาเป็นบรรทัดฐานของการอยู่ร่วมกันแบบออนไลน์
• Know where you are in cyberspace
     กฎข้อที่ 3 เป็นข้อแนะนำให้เราใช้งานอย่างมีสติ รู้ตัวว่าเรากำลังอยู่ ณ ที่ใด เมื่อเข้าในพื้นที่ใหม่ ควรศึกษาและทำความรู้จักกับชุมชนนั้น ก่อนที่จะเข้าร่วมสนทนาหรือทำกิจกรรมใด ๆ
• Respect other people's time and bandwidth
     กฎข้อที่ 4 ให้รู้จักเคารพผู้อื่นด้วยการตระหนักในเรื่องเวลา ซึ่งจะสัมพันธ์กับขนาดช่องสัญญาณของการเข้าถึงเครือข่าย นั่นคือ ให้คำนึงถึงสาระเนื้อหาที่จะส่งออกไป ไม่ว่าจะเป็นในกลุ่มสนทนาหรือการส่งอีเมล เราควรจะ คิดสักนิดก่อน submit” ใช้เวลาตรึกตรองสักหน่อยว่า ข้อความเหล่านั้นเหมาะสมหรือมีสาระประโยชน์กับใครมากน้อยเพียงใด
• Make yourself look good online
     กฎข้อที่ 5 เป็นข้อแนะนำผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเกี่ยวกับการเขียนและการใช้ภาษา เนื่องจากปัจจุบันวิธีการสื่อสารบนเน็ตใช้การเขียนและข้อความเป็นหลัก การตัดสินว่าคนที่เราติดต่อสื่อสารด้วยเป็นคนแบบใด จะอาศัยสาระเนื้อหารวมทั้งคำที่ใช้ ดังนั้น ถ้าจะให้ ดูดีก็ควรใช้ถ้อยคำที่เหมาะสมและตรวจสอบคำสะกดให้ถูกต้อง
• Share expert knowledge
     กฎข้อที่ 6 เป็นข้อแนะนำให้เรารู้จักใช้จุดแข็งหรือข้อได้เปรียบของอินเทอร์เน็ต นั่นคือ การใช้เครือข่ายเพื่อเปิดโอกาสในการแลกเปลี่ยน ความรู้รวมทั้งประสบการณ์กับผู้คนจำนวนมาก ๆ ซึ่งเป็นแนวคิดที่ถือว่าเป็นจุดกำเนิดของอินเทอร์เน็ตนั่นเอง
• Help keep flame wars under control
     กฎข้อที่ 7 เป็นข้อคิดที่ต้องการให้ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ร่วมมือกันเพื่อช่วยควบคุมและลดปัญหาที่อาจเกิดขึ้นจากการส่งความคิดเห็นด้วยการใช้คำที่หยาบคาย เติมอารมณ์ความรู้สึกอย่างรุนแรงจนเป็นชนวนให้เกิดกรณีทะเลาะวิวาทกันในกลุ่มสมาชิก ซึ่งรู้จักกันในกลุ่มผู้ใช้อินเทอร์เน็ตว่า “flame”
• Respect other people's privacy
     กฎข้อที่ 8 เป็นคำเตือนให้เรารู้จักเคารพในความเป็นส่วนตัวของผู้อื่น เช่นไม่อ่านอีเมลของผู้อื่น เป็นต้น
• Don't abuse your power
     กฎข้อที่ 9 เป็นคำเตือนสำหรับผู้ที่ได้รับสิทธิพิเศษ เช่น ผู้ดูแลระบบบนอินเทอร์เน็ต ซึ่งมักจะได้รับสิทธิในการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่น บุคคลเหล่านี้ก็ไม่ควรใช้อำนาจหรือสิทธิ์ที่ได้รับไปในทางที่ไม่ถูกต้องและเป็นการเอาเปรียบผู้อื่น
• Be forgiving of other people's mistakes
     กฎข้อที่ 10 เป็นคำแนะนำให้เรารู้จักให้อภัยผู้อื่น โดยเฉพาะพวก newbies ในกรณีที่พบว่าเขาทำผิดพลาดหรือไม่เหมาะสม และหากมีโอกาสแนะนำคนเหล่านั้น ก็ควรจะชี้ข้อผิดพลาดและให้คำแนะนำอย่างสุภาพ โดยอาจส่งข้อความแจ้งถึงผู้นั้นโดยตรงผ่านทางอีเมล

11.การเข้าไปดูข้อความในจดหมายอิเล็กทรอนิกส์และการบันทึกข้อมูลในเครื่องคอมพิวเตอร์ รวมทั้งการบันทึก-แลกเปลี่ยนข้อมูลที่บุคคลเข้าไปใช้บริการเว็บไซต์และกลุ่มข่าวสาร

12.การใช้เทคโนโลยีในการติดตามความเคลื่อนไหวหรือพฤติกรรมของบุคคล เช่น บริษัทใช้คอมพิวเตอร์ในการตรวจจับหรือเฝ้าดูการปฏิบัติงาน/การใช้บริการของพนักงาน ถึงแม้ว่าจะเป็นการติดตามการทำงานเพื่อการพัฒนาคุณภาพการใช้บริการ แต่กิจกรรมหลายอย่างของพนักงานก็ถูกเฝ้าดูด้วย พนักงานสูญเสียความเป็นส่วนตัว ซึ่งการกระทำเช่นนี้ถือเป็นการผิดจริยธรรม

13.การใช้ข้อมูลของลูกค้าจากแหล่งต่างๆ เพื่อผลประโยชน์ในการขยายตลาด

14.การรวบรวมหมายเลขโทรศัพท์ ที่อยู่อีเมล์ หมายเลขบัตรเครดิต และข้อมูลส่วนตัวอื่นๆ เพื่อนำไปสร้างฐานข้อมูลประวัติลูกค้าขึ้นมาใหม่ แล้วนำไปขายให้กับบริษัทอื่น ดังนั้น เพื่อเป็นการป้องกันการละเมิดสิทธิความเป็นส่วนตัวของข้อมูลและสารสนเทศ จึงควรจะต้องระวังการให้ข้อมูล โดยเฉพาะการใช้อินเตอร์เน็ตที่มีการใช้โปรโมชั่น หรือระบุให้มีการลงทะเบียนก่อนเข้าใช้บริการ เช่น ข้อมูลบัตรเครดิต และที่อยู่อีเมล์ความถูกต้อง (Information Accuracy)

ในการใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการรวบรวม จัดเก็บ และเรียกใช้ข้อมูลนั้น คุณลักษณะที่สำคัญประการหนึ่ง คือ ความน่าเชื่อถือได้ของข้อมูล ทั้งนี้ ข้อมูลจะมีความน่าเชื่อถือมากน้อยเพียงใดย่อมขึ้นอยู่กับความถูกต้องในการบันทึกข้อมูลด้วย ประเด็นด้านจริยธรรมที่เกี่ยวข้องกับความถูกต้องของข้อมูล โดยทั่วไปจะพิจารณาว่าใครจะเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของข้อมูลที่จัดเก็บและเผยแพร่ เช่น ในกรณีที่องค์การให้ลูกค้าลงทะเบียนด้วยตนเอง หรือกรณีของข้อมูลที่เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์ อีกประเด็นหนึ่ง คือ จะทราบได้อย่างไรว่าข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนั้นไม่ได้เกิดจากความจงใจ และผู้ใดจะเป็นผู้รับผิดชอบหากเกิดข้อผิดพลาด
ดังนั้น ในการจัดทำข้อมูลและสารสนเทศให้มีความถูกต้องและน่าเชื่อถือนั้น ข้อมูลควรได้รับการตรวจสอบความถูกต้องก่อนที่จะนำเข้าฐานข้อมูล รวมถึงการปรับปรุงข้อมูลให้มีความทันสมัยอยู่เสมอ นอกจากนี้ ควรให้สิทธิแก่บุคคลในการเข้าไปตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูลของตนเองได้ เช่น ผู้สอนสามารถดูคะแนนของนักศึกษาในความรับผิดชอบ หรือที่สอนเพื่อตรวจสอบว่าคะแนนที่ป้อนไม่ถูกแก้ไขเปลี่ยนแปลง ความเป็นเจ้าของ (Information Property) สิทธิความเป็นเจ้าของ หมายถึง กรรมสิทธิ์ในการถือครองทรัพย์สิน ซึ่งอาจเป็นทรัพย์สินทั่วไปที่จับต้องได้ เช่น คอมพิวเตอร์ รถยนต์ หรืออาจเป็นทรัพย์สินทางปัญญา (ความคิด) ที่จับต้องไม่ได้ เช่น บทเพลง โปรแกรมคอมพิวเตอร์ แต่สามารถถ่ายทอดและบันทึกลงในสื่อต่างๆ ได้ เช่น สิ่งพิมพ์ เทป ซีดีรอม เป็นต้น
ในสังคมของเทคโนโลยีสารสนเทศ มักจะกล่าวถึงการละเมิดลิขสิทธิ์ซอฟต์แวร์ เมื่อท่านซื้อโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่มีการจดลิขสิทธิ์ นั่นหมายความว่าท่านได้จ่ายค่าลิขสิทธิ์ในการใช้ซอฟต์แวร์นั้น สำหรับท่านเองหลังจากที่ท่านเปิดกล่องหรือบรรจุภัณฑ์แล้ว หมายถึงว่าท่านได้ยอมรับข้อตกลงเกี่ยวกับลิขสิทธิ์ในการใช้สินค้านั้น ซึ่งลิขสิทธิ์ในการใช้จะแตกต่างกันไปในแต่ละสินค้าและบริษัท บางโปรแกรมคอมพิวเตอร์จะอนุญาตให้ติดตั้งได้เพียงครั้งเดียว หรือไม่อนุญาตให้ใช้กับคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ถึงแม้ว่าคอมพิวเตอร์เครื่องนั้นๆ ท่านเป็นเจ้าของ และไม่มีผู้อื่นใช้ก็ตาม ในขณะที่บางบริษัทอนุญาตให้ใช้โปรแกรมนั้นได้หลายๆ เครื่อง ตราบใดที่ท่านยังเป็นบุคคลที่มีสิทธิในโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ซื้อมา การคัดลอกโปรแกรมคอมพิวเตอร์ให้กับเพื่อน เป็นการกระทำที่จะต้องพิจารณาให้รอบคอบก่อนว่าโปรแกรมที่จะทำการคัดลอกนั้น เป็นโปรแกรมคอมพิวเตอร์ที่ท่านมีสิทธ์ในระดับใด
การเข้าถึงข้อมูล (Data Accessibility) ปัจจุบันการเข้าใช้งานโปรแกรม หรือระบบคอมพิวเตอร์มักจะมีการกำหนดสิทธิตามระดับของผู้ใช้งาน ทั้งนี้ เพื่อเป็นการป้องกันการเข้าไปดำเนินการต่างๆ กับข้อมูลของผู้ใช้ที่ไม่มีส่วนเกี่ยวข้อง และเป็นการรักษาความลับของข้อมูล ตัวอย่างสิทธิในการใช้งานระบบ เช่น การบันทึก การแก้ไข/ปรับปรุง และการลบ เป็นต้น ดังนั้น ในการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์จึงได้มีการออกแบบระบบรักษาความปลอดภัยในการเข้าถึงของผู้ใช้ และการเข้าถึงข้อมูลของผู้อื่นโดยไม่ได้รับความยินยอมนั้น ก็ถือเป็นการผิดจริยธรรมเช่นเดียวกับการละเมิดข้อมูลส่วนตัว ในการใช้งานคอมพิวเตอร์และเครือข่ายร่วมกันให้เป็นระเบียบ หากผู้ใช้ร่วมใจกันปฏิบัติตามระเบียบและข้อบังคับของแต่ละหน่วยงานอย่างเคร่งครัดแล้ว การผิดจริยธรรมตามประเด็นดังที่กล่าวมาข้างต้นก็คงจะไม่เกิดขึ้น
อินเทอร์เน็ตถือได้ว่าเป็นบริการสาธารณะและมีผู้ใช้จำนวนมาก เพื่อให้การใช้งานเป็นไปอย่างถูกต้องและมีประสิทธิภาพ ผู้ที่เข้ามาใช้ควรมีกฏกติกาที่ปฏิบัติร่วมกัน เพื่อป้องกันปัญหาที่จะเกิดขึ้นจากการใช้งานที่ผิดวิธี ในทีนี้ขอแยกเป็น 2 ประเด็น คือ
1. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่เข้าไปใช้บริการต่างๆ ที่มีอยู่ในอินเทอร์เน็ต แบ่งออกเป็น 4 ด้าน คือ
ด้านการติดต่อสื่อสารกับเครือข่าย ประกอบด้วย
  • ในการเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายควรใช้ชื่อบัญชี (Internet Account Name) และรหัสผ่าน (Password) ของตนเอง ไม่ควรนำของผู้อื่นมาใช้ รวมทั้งนำไปกรอกแบบฟอร์มต่างๆ
  • ควรเก็บรักษารหัสผ่านของตนเองเป็นความลับ และทำการเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะๆ รวมทั้งไม่ควรแอบดูหรือถอดรหัสผ่านของผู้อื่น
  • ควรวางแผนการใช้งานล่วงหน้าก่อนการเชื่อมต่อกับเครือข่ายเพื่อเป็นการประหยัดเวลา
  • เลือกถ่ายโอนเฉพาะข้อมูลและโปรแกรมต่างๆ เท่าที่จำเป็นต่อการใช้งานจริง
  • ก่อนเข้าใช้บริการต่างๆ ควรศึกษากฏ ระเบียบ ข้อกำหนด รวมทั้งธรรมเนียมปฏิบัติของแต่ละเครือข่ายที่ต้องการติอต่อ
ด้านการใช้ข้อมูลบนเครือข่าย ประกอบด้วย
  • เลือกใช้ข้อมูลที่มีความน่าเชื่อถือ มีแหล่งที่มาของผู้เผยแพร่ และที่ติดต่อ
  • เมื่อนำข้อมูลจากเครือข่ายมาใช้ ควรอ้างอิงแหล่งที่มาของข้อมูลนั้น และไม่ควรแอบอ้างผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตนเอง
  • ไม่ควรนำข้อมูลที่เป็นเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นไปเผยแพร่ก่อนได้รับอนุญาต
ด้านการติดต่อสื่อสารระหว่างผู้ใช้ ประกอบด้วย
  • ใช้ภาษาที่สุภาพในการติดต่อสื่อสาร และใช้คำให้ถูกความหมาย เขียนถูกต้องตามหลักไวยากรณ์
  • ใช้ข้อความที่สั้น กะทัดรัดเข้าใจง่าย
  • ไม่ควรนำความลับ หรือเรื่องส่วนตัวของผู้อื่นมาเป็นหัวข้อในการสนทนา รวมทั้งไม่ใส่ร้ายหรือทำให้บุคคลอื่นเสียหาย
  • หลีกเลี่ยงการใช้ภาษาที่ดูถูก เหยียดหยามศาสนา วัฒนธรรมและความเชื่อของผู้อื่น
  • ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่นควรสอบถามความสมัครใจของผู้ที่ติดต่อด้วย ก่อนที่จะส่งแฟ้มข้อมูล หรือโปรแกรมที่มีขนาดใหญ่ไปยังผู้ที่เราติดต่อด้วย
  • ไม่ควรส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) ที่ก่อความรำคาญ และความเดือดร้อนแก่ผู้อื่น เช่น จดหมายลูกโซ่
ด้านระยะเวลาในการใช้บริการ ประกอบด้วย
  • ควรคำนึงถึงระยะเวลาในการติดต่อกับเครือข่าย เพื่อเปิดโอกาสให้ผู้ใช้คนอื่นๆ บ้าง
  • ควรติดต่อกับเครือข่ายเฉพาะช่วงเวลาที่ต้องการใช้งานจริงเท่านั้น
2. มารยาทของผู้ใช้อินเทอร์เน็ต ในฐานะบุคคลที่ทำหน้าที่เผยแพร่ข้อมูล ข่าวสารต่างๆ ลงบนอินเทอร์เน็ต ประกอบด้วย
  • ควรตรวจสอบความถูกต้องของข้อมูล และข่าวสารต่างๆ ก่อนนำไปเผยแพร่บนเครือข่าย เพื่อให้ได้ข้อมูลที่เป็นจริง
  • ควรใช้ภาษาที่สุภาพ และเป็นทางการในการเผยแพร่สิ่งต่างๆ บนอินเทอร์เน็ต และควรเผยแพร่ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ
  • ควรเผยแพร่ข้อมูล และข่าวสารที่เป็นประโยชน์ในทางสร้างสรรค์ ไม่ควรนำเสนอข้อมูลข่าวสารที่ขัดต่อศีลธรรมและจริยธรรมอันดี รวมทั้งข้อมูลที่ก่อให้เกิดความเสียหายต่อผู้อื่น
  • ควรบีบอัดภาพหรือข้อมูลขนาดใหญ่ก่อนนำไปเผยแพร่บนอินเทอร์เน็ต เพื่อประหยัดเวลาในการดึงข้อมูลของผู้ใช้
  • ควรระบุแหล่งที่มา วันเดือนปีที่ทำการเผยแพร่ข้อมูล ที่อยู่ เบอร์โทรศัพท์ของผู้เผยแพร่ รวมทั้งควรมีคำแนะนำ และคำอธิบายการใช้ข้อมูลที่ชัดเจน
  • ควรระบุข้อมูล ข่าวสารที่เผยแพร่ให้ชัดเจนว่าเป็นโฆษณา ข่าวลือ ความจริง หรือความคิดเห็น
  • ไม่ควรเผยแพร่ข้อมูล ข่าวสาร รวมทั้งโปรแกรมของผู้อื่นก่อนได้รับอนุญาตจากเจ้าของ และที่สำคัญคือไม่ควรแก้ไข เปลี่ยนแปลงข้อมูลของผู้อื่นที่เผยแพร่บนเครือข่าย
  • ไม่ควรเผยแพร่โปรแกรมที่นำความเสียหาย เช่น ไวรัสคอมพิวเตอร์เข้าสู่ระบบเครือข่าย และควรตรวจสอบแฟ้มข้อมูล ข่าวสาร หรือโปรแกรมว่าปลอดไวรัส ก่อนเผยแพร่เข้าสู่ระบบอินเทอร์เน็ต

วันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2554

แนะนำตัวเอง

ชื่อเด็กหญิง  เฌอสินี   หล้าเตจา  ชื่อเล่น แซน ชั้น ม.2/3 เลขที่ 18  อายุ 13 ปี
 โรงเรียนตากพิทยาคม
วิชา คอมพิวเตอร์พื้นฐาน 2 ผู้สอนคุณครู พุธชาติ มั่นเมือง